top of page
sidekick trans (1).png
  • Facebook - White Circle
  • Instagram
  • TikTok
  • LinkedIn
  • Youtube

"อคติต่อวัย" หรือ "วยาคติ" (Ageism) คือการที่คนตัดสินหรือ

เลือกปฏิบัติต่อคนอื่นด้วยอายุ จาก รายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) 

พบว่า ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ มีการเพิ่มขึ้นของอคติระหว่างวัยที่สูงติดอันดับโลกเลยทีเดียว

ตลอดสองปีที่ผ่านมา ไซด์คิก (Sidekick) ซึ่งเป็นองค์กรที่เน้นการ

สื่อสารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคม ได้ร่วมมือกับ สสส. เพื่อคิดค้น

นวัตกรรมที่ช่วยลดช่องว่างระหว่างวัย ส่งเสริมสุขภาพจิต และสร้าง

พื้นที่ให้คนต่างวัยได้มีส่วนร่วมกันมากขึ้นอย่างยั่งยืน

เราเริ่มจากการตามหา เหล่าชาว connectors หรือ

"นักเชื่อมสัมพันธ์" ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ทุกวัยรู้สึกว่าเข้าถึงง่าย เป็นมิตร และเปิดกว้าง คอยเป็นตัวกลางระหว่างวัยต่างๆ เราทำงานร่วมกับทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อดึงเอาบุคลิกและนิสัยของกลุ่มนี้มาสกัดเพื่อมาพัฒนานวัตกรรมให้คนต่างวัยเข้าใจกันมากขึ้น

Asset 1_edited.png
Asset 12-1_edited.png
Asset 96A.png

เราพบว่า ชาว connectors มักจะมี 4 พฤติกรรมหลักคือ:

  • ชื่นชมในความพยายามของผู้อื่น — พวกเขามองเห็นคุณค่าของความพยายามและสนับสนุนความคิดในแต่ละก้าว ไม่ใช่ชื่นชมผลลัพธ์เพียงอย่างเดียว

  • ตั้งใจฟังและเปิดพื้นที่ให้กับทุกความคิดเห็น — เปิดใจรับฟังทุกมุมมองอย่างเท่าเทียม

  • กล้าที่จะเล่าความผิดพลาด — เพื่อให้คนอื่นได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของเขา

  • สร้างสรรค์พื้นที่ปลอดภัยสำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น — คนสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนได้อย่างเปิดใจโดยไม่ต้องกังวล

05-01.png

“ถ้าปรับตรงนี้อีกนิดจะเจ๋งมาก!

วันนี้นายทำได้ดีแล้วนะ ลุงเชื่อว่า

ทุกความพยายามมีคุณค่า!”

A: Appreciate

ทุกคนชอบปรึกษาลุงโอ๋ เพราะเขามองเห็นความพยายามของทุกคนได้ชัดเจน ลุงให้ความสำคัญกับทุกขั้นตอน ไม่ใช่แค่ผลลัพธ์ และไม่ว่าผลจะออกมายังไง ลุงก็พร้อมจะชื่นชมและให้กำลังใจเสมอ ใครมีลุงโอ๋เป็นโค้ชก็มั่นใจได้ว่าเขาจะอยู่ข้างๆ ด้วยพลังบวกตลอดทาง!

 

เราจึงได้นำพฤติกรรมต้นแบบทั้งหมดมาพัฒนาเป็นตัวละครการ์ตูน โดยเรียกพวกเขาว่าทีม Furry Monsters หรือ Monster น่ารัก ​​

Asset 66.png

“ถ้ามีคนพูด ก็ต้องมีคนฟัง

ว่ามาเลย.. ฉันตั้งใจฟังเธออยู่นะ!”

L: Listen

 

พบกับพี่เย็น พี่ใหญ่ใจดีที่ชอบฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจ เขาไม่รีบร้อนหรือตัดบทใคร เพราะใส่ใจความคิดของทุกคนเสมอ ความสามารถพิเศษของเขาคือการเก็บรายละเอียดที่ได้ยินและจดบันทึกไว้ เพื่อถามกลับและทำความเข้าใจให้ดีขึ้น บอกได้เลยว่ารางวัลนักใส่ใจฟังดีเด่นแห่งปีต้องเป็นของพี่เย็น!

ตั้งใจฟังทุกคน

Asset 82 (1).png
Asset 65.png

“ยิ่งล้ม ยิ่งได้เรียนรู้!

ไม่มีใครเพอร์เฟคทุกเรื่องหรอก

ฉันก็เคยพลาดเหมือนกันนะ!”

M: Mistakes

ยายชบาเชื่อว่าความล้มเหลวคือโอกาสทองในการเรียนรู้ เธอส่งเสริมให้ทุกคนกล้าเผชิญความท้าทายและยอมรับความไม่สมบูรณ์แบบ ยายชบาชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และไม่ลังเลที่จะเล่าประสบการณ์เจ๋งๆ ของเธอเพื่อให้ทุกคนกล้าเปิดรับสิ่งใหม่!

Asset 81.png
Asset 64.png

“พวกเราอยากเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้เธอนะ

เป็นตัวของตัวเองได้เต็มที่เลย! 

เราเชื่อว่าความคิดเห็นของทุกคนมีคุณค่า!”

O: Open

ป้าจุ๋งจิ๋งและพี่เบิ้ม คู่หูที่เก่งในการสร้างบรรยากาศสบายๆ ให้ทุกคนรู้สึกปลอดภัยและเป็นกันเอง ป้าจุ๋งจิ๋งสัมผัสอารมณ์ของคนรอบตัวได้ดี และคอยทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม ส่วนพี่เบิ้มก็จะคอยฟังเสียงที่เบาที่สุดและขยายให้ทุกคนได้ยิน ใครมีอะไรอยากแชร์ก็ไม่ต้องกลัว พี่เบิ้มพร้อมช่วยเสมอ!

เมื่อเราลงลึกไปในชีวิตของเหล่า connectors เราจะพบคำว่า “ประสบการณ์”

ที่สำคัญมาก โดยประสบการณ์ในวัยเด็กหรือวัยเรียนของพวกเขา มักจะมีผู้ใหญ่ที่

เปิดใจรับฟังอยู่เสมอ ประสบการณ์ดีๆ เหล่านี้ช่วยสร้างทัศนคติและบุคลิกภาพของพวกเขา จนเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่เปิดรับและอยากแบ่งปันความเปิดกว้างให้กับคนอื่น

แล้วผู้ใหญ่ใจดีเหล่านี้อยู่ที่ไหนกัน? ถ้าไม่ใช่พ่อแม่ ก็เป็นผู้ใหญ่ที่เจอในกิจกรรมต่างๆ นอกห้องเรียน เช่น กีฬา งานอดิเรก หรือกิจกรรมดนตรี ที่เด็กและผู้ใหญ่ได้มาทำกิจกรรมร่วมกันผ่านความชอบและความสนใจแบบเท่าเทียมกัน เป็นต้น

website brainstoming design board  (3)_e
Pink-05 (2).png
Yellow-01 (1).png
website brainstoming design board  (5)_e
website brainstoming design board  (4)_e
website brainstoming design board  (5).png
website brainstoming design board  (2)_e
เปิดโลกใหม่:
เมื่อเยาวชนพบกับผู้ใหญ่ที่แตกต่าง
Asset 68.png

จากงานวิจัยที่ไซด์คิกทำร่วมกับทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังพบอีกว่า จากกลุ่มทดลองทั่วประเทศ มีคนที่มีทัศนคติเปิดกว้างเรื่องวัยสูง คล้ายกับ "นักเชื่อมสัมพันธ์" อยู่ที่ประมาณ 20% เท่านั้น แม้เราอาจไม่สามารถสร้างคนระดับ "คอนเนคเตอร์" ขึ้นมาได้ แต่เราจะสามารถเพิ่มจำนวนเยาวชนที่เปิดกว้างต่อวัยมากขึ้นได้ไหม? เพื่อกลายเป็นผู้ใหญ่ที่เปิดรับในวันข้างหน้า?

 

เราจะสามารถเชื่อมโยงพวกเขากับผู้ใหญ่ที่พวกเขาไม่ค่อยได้เจอ เพื่อเปลี่ยนมุมมองของพวกเขาได้หรือเปล่า?

Asset 2.png
Asset 2.png

เรานำข้อมูลนี้มาสร้างกิจกรรมที่ช่วยเปลี่ยนมุมมองของเยาวชนเกี่ยวกับผู้ใหญ่และตัวเอง โดยเลือกเยาวชนที่ไม่ได้มีโอกาสมากนักในการทำกิจกรรมนอกห้องเรียน และไม่เคยเจอผู้ใหญ่ที่หลากหลายมาทำงานร่วมกับผู้ใหญ่ต้นแบบที่เปิดกว้าง ผ่านกิจกรรมที่พวกเขาชอบ เช่น การถ่ายภาพเล่าเรื่อง !

ผู้ใหญ่ทุกคน ตั้งแต่วิทยากร ทีมพี่เลี้ยง ไปจนถึงช่างภาพและทีม admin จะได้รับการฝึกอบรมอย่างจริงจังก่อนเริ่มโครงการ 

เพื่อให้สามารถปฏิบัติตาม 4 พฤติกรรมต้นแบบ A.L.M.O

AKE_3975.JPG
Asset 1_edited.png

เราเห็นการเปลี่ยนแปลงในตัวเยาวชน จากที่เคยกลัวที่จะเข้าหาผู้ใหญ่หรือแสดงความคิดเห็น ตอนจบโครงการ พวกเขากลับเต็มไปด้วยไอเดียและความพร้อมที่จะมีส่วนร่วม และบอกเราว่าผู้ใหญ่ที่เจอนั้นแตกต่างจากที่คุ้นเคย ไม่คิดว่าผู้ใหญ่ทุกคนเหมือนกันอีกต่อไป!

Blue-02 (1).png
website brainstoming design board  (12).png
website brainstoming design board  (14).png
Asset 8.png
lll.png
Asset 13.png

ตลอดสองเดือนของกิจกรรม...

Asset 21.png
website brainstoming design board  (4).png

การประเมินผลการเปลี่ยนแปลงโดยทีมวิจัยจากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า การเข้าร่วมกิจกรรมส่งผลดีต่อพฤติกรรมนักศึกษาใน 3 ด้าน คือ

  • กล้าพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ใหญ่

  • การเปิดใจมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ 

  • ความอยากเรียนรู้จากผู้ใหญ่

ในขณะที่นักศึกษาที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่มีคะแนนคงที่หรือลดลง

Screen Shot 2567-10-22 at 14.44_edited.j
Screen Shot 2567-10-22 at 14.45_edited.j
Screen Shot 2567-10-22 at 16.13.19.png
Yellow-02_edited.png
Green-03.png
Blue-03.png
Pink-04.png
Purple-02.png
Asset 7 (1)_edited.png
Asset 43-rev.png

“ ปกติการทำงานมักแบ่งตามลำดับชั้น เจ้านาย-ลูกน้อง หรืออาวุโสกว่า

น้อยมากที่จะทำงานร่วมกันแบบชวนกันคิด ทำ นำเสนอ และช่วยกันแก้ไขถือเป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่ค่ะ ”

" ชอบที่ได้เดินออกไปถ่ายรูปและนำเสนอ เพราะมันช่วยให้ผ่อนคลาย ยืดหยุ่น และกระตุ้นจินตนาการ

โดยไม่ถูกบังคับว่าต้องถ่ายที่ไหน สุดท้ายก็มาร่วมเสนอในกลุ่ม

ซึ่งชอบรูปแบบการทำงานแบบนี้ค่ะ " 

“ รู้สึกว่าทีมงานสร้างบรรยากาศเป็นกันเองและสนับสนุนให้กล้าแสดงความคิดเห็น กิจกรรมนี้ทำให้เราได้คิดและลงมือทำจริง ซึ่งช่วยให้เราใช้ความคิดมากกว่ากิจกรรมอื่นๆ ที่เคยเข้าร่วมค่ะ 

“ รู้สึกว่านี่เป็นพื้นที่ปลอดภัยในการแสดงความคิดเห็น เพราะพี่เลี้ยงย้ำว่าไม่มีผิดหรือถูก ทำให้เรากล้าพูดและแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ โดยไม่มีข้อจำกัด ”

“ ทำให้กล้าแสดงความคิดเห็นมากขึ้น เพราะทุกคนแลกเปลี่ยนความคิดอย่างจริงใจ ทุกคนเสนอความคิดของตัวเอง และนำมาปรับให้ทุกคนโอเคร่วมกัน ”

“ รู้สึกว่าพี่ๆ เปิดโอกาสรับฟังความคิดเห็นของเด็ก ใส่ใจอารมณ์และทัศนคติ ทำให้เริ่มรู้สึกอยากมาร่วมกิจกรรมบ่อยๆ เพราะทำแล้ว

มีความสุขชอบที่พี่ๆ ให้คำแนะนำ ช่วยจุดประกายความคิดให้ทำงานได้เต็มที่ครับ ”

“ พี่ๆ ทุกคนเข้าหาได้ง่าย เมื่อน้องๆ มีปัญหาก็สามารถเข้าหาได้ เพราะพี่ๆ มีออร่าความสบายใจ เราถามอะไรก็ได้และพร้อมที่จะให้คำตอบ รู้สึกว่าทุกคนมีความเฟรนด์ลี่มากค่ะ ”

“ การเป็นเด็กกิจกรรมทำให้หนู

เป็นเดอะแบกบ่อยครั้ง แต่ในครั้งนี้ได้ฝึกเปิดโอกาสให้คนอื่นร่วมงาน ทำให้เข้าใจว่าการทำงานเป็นทีมทำให้เสร็จไวและสนุกขึ้น

นอกจากนี้ ยังได้เจอผู้ใหญ่ที่มีทัศนคติเชิงบวก เปลี่ยนมุมมอง

ต่อความเป็นผู้ใหญ่ให้ดีขึ้นค่ะ 

“ การปฏิบัติต่อกันเหมือนพี่น้อง เป็นกันเอง สามารถปรึกษากันได้ในเรื่องที่เราไม่เข้าใจ อยากจะนำตรงนี้ไปใช้ต่อในกิจกรรมถัดๆ ไป คนในกลุ่มจะได้เป็นกันเอง ไม่เกร็งและอึดอัดในการทำกิจกรรมร่วมกัน ”

 

“ ได้เห็นการเป็นแบบอย่างที่ดี เรื่องการยอมรับความผิดพลาดของพี่ๆ ที่ยอมไปขอโทษน้องๆ 

“ พี่เลี้ยงกระตุ้นให้น้องๆ แสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วม ส่วนพิธีกรเชียร์น้องๆ ยิ้ม ชวนคุยตลอด บรรยากาศทำให้เกิดแรงใจเขาเหมือนเป็นเพื่อนที่สบายใจในการคุยด้วยค่ะ ”

“การใส่ใจเรื่องเล็กๆน้อยๆ เช่น การทิ้งหรือแยกขยะ การใช้คำพูดที่ควรใช้

การเลี่ยงคำพูดท็อกซิก (toxic) ใส่กัน การวางตัวกับคนส่วนร่วม และผู้ใหญ่ที่ทำงานร่วมกัน ”

“ พี่บางคนอาจจะเปลี่ยนสายงานมาก่อน หรือใช้เวลาหลายปีกว่าจะได้ทำงานที่ต้องการ ทำให้หนูคิดได้ว่าถ้าเราเรียนหรือทำงานแล้วรู้สึกว่าไม่โอเค ไม่ชอบ เราก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่จำเป็นต้องฝืนทน หรือกลัวเสียดายเวลา เห็นพี่ๆ ไม่มีความเครียดมีแต่รอยยิ้ม พอเห็นพวกพี่มีความสุข ก็ทำให้น้องๆ มีความสุขตาม “

“ การพูดคุยเป็นกันเอง รู้จักให้เกียรติกัน และรับฟัง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทำให้การทำงานราบรื่นและเข้าใจความคิดกันและกันแม้อายุจะต่างกัน ”

website brainstoming design board  (3).png

หลังจากโครงการจบไปประมาณ 4-5 เดือน

เราได้ไปติดตามชีวิตของพวกเขาต่อ พบว่าประสบการณ์

จากกิจกรรมยังคงส่งผลต่อชีวิตพวกเขาอยู่

 

​​​​​​​​​​​​" พวกเขาบอกเราว่าตอนนี้เขาเลือกที่จะฟังมากขึ้น

แทนที่จะปะทะความคิดเห็นไม่เหมารวมทุกคน

และพยายามทำความเข้าใจที่มาที่ไปของแต่ละคนมากขึ้น " 

website brainstoming design board  (2).png
Green-02.png
Screen Shot 2567-10-31 at 18.29.21 copy.png

Copyright 2024 Sidekick Co., Ltd.​

bottom of page